วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงการวิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

โครงงานวิทยาศาสตร์
การทำน้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
 จัดทำโดย 
1.  นางสาวธัญญา      ทองหยู่          เลขที่  19
2.  นางสาวเบญจพร   ทองศรีแก้ว    เลขที่ 14

ครูที่ปรึกษาการจัดทำโครงงาน
อาจารย์ ดร.จิตสถา    เตชะทวีกุล

วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร

   ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                โครงงาน น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความสนใจของ
นัก เรียนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการร่วมกันวางแผนกิจกรรมที่หลาก หลายแต่ละกิจกรรมล้วนเป็นกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ และการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน  จึงทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง
                ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  การเรียนรู้แบบโคตรงงานนี้จะเป็นประโยชน์สำหนับนักเรียน และผู้สนใจไม่มากก็น้อย และขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูลในการทำโครงงานนี้



 





จุดประสงค์ของโครงงาน

๑.     นักเรียนสามารถเสนอเรื่องที่ตนสนใจ  รวมไปถึงการเลือกหัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจ
และอยากเรียนได้
๒.    นักเรียนสามารถเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องน้ำสมุนไพรที่ตนเองรุจักได้
๓.    นักเรียนสามารถตั้งสมมติฐานก่อนการแสวงหาคำตอบได้
๔.    นักเรียนสามารถบอกได้ว่ามีพืชชนิดใดบ้างที่สามารถนำมาทำน้ำสมุนไพรได้
๕.    นักเรียนสามารถบอกได้ว่าน้ำสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไรบ้าง
๖.    นักเรียนสามารถร่วมกันสร้างแบบสำรวจเรื่อง น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพเพื่อใช้ในการสำรวจ
          ข้อมูลได้
๗.    นักเรียนได้รับความรู้ใหม่ๆจากการทำโครงงานเรื่องน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
๘.    นักเรียนสามารถคิดค้นสูตรการทำน้ำสมุนไพรตามแนวคิดของตนเองได้
๙.    นักเรียนได้เรียนรู้จักการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
๑๐.   นักเรียนสามารถนำเสนอผลงานของตนเองได้ในรูปแบบการจัดนิทรรศการ

 
กิจกรรมที่ทำในโครงงาน

๑.   สืบค้นหาความรู้ที่ห้องสมุดของโรงเรียน
๒.  สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
๓.  การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากบุคคล  เช่น  ครู  แม่ค้าขายน้ำผลไม้
   ผู้ปกครองนักเรียน 
๔.  การทำแบบสำรวจจากบุคคลภายในโรงเรียน และนอกโรงเรียน ในข้อคำถามว่า
         น้ำสมุนไพรทำมาจากพืชชนิดใดได้บ้าง
๖.  การทดลองทำน้ำสมุนไพรจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ

 
บทที่  1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                เนื่องจากลุ่มของดิฉันได้สนใจการทำน้ำสมุนไพรเพราะมีความเห็นว่าในบริเวณโรงเรียนมีพืชสมุนไพรมากมายหลายชนิด เช่น ตะไคร้    ขิง   พืชสมุนไพรเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีวิตามินเอ  เบต้าแคโรทีนสูง  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  ฯลฯ  จึงสมควรที่นำมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพร  เพื่อดื่มแทนน้ำอัดลม  ถ้าเราดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ  จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร   กลุ่มของดิฉัน  จึงทำโครงงานน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
                1.  เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง
                2.  ช่วยประหยัดเงินและช่วยรักษาโรค
                3.  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                4.  ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
สมมติฐานการศึกษา
                ทุกคนต้องหันมาดื่มน้ำสมุนไพรแทนน้ำอัดลมได้และได้รับประโยชน์ของสมุนไพร



บทที่  2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง
 
ตะไคร้บ้าน (Cymbopogon citratus (DC.) Staph)
ชื่อท้องถิ่น:   จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
มีลักษณะ:  เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนามลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้ เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด:  ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย  และในทวี
การปลูกและขยายพันธุ์ ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมี รากงอกออกมาแล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปัก โคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย  เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมา  ทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว  ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้าง หรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ  ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่  ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น  ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมด
สรรพคุณ : ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำและอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียนใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่ม แก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับช่วยลดความดันสูงน้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้   ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆ  จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสม    เพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจาก มีกลิ่นที่แรงจึง ช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดี




บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน
ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน  1  -  26   มิถุนายน  2555



สัปดาห์ที่
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
สถานที่ทำกิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
1
1-4 มิถุนายน 2555
-  เลือกหัวข้อเรื่องการทำโครงงาน

วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร



ธัญญา,
เบญจพร
2
7-1มิถุนายน 2555
-  ประชุมในกลุ่มให้ทุกคนเตรียม  อุปกรณ์ต่างๆ
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร
ธัญญา,
เบญจพร
3
14-18 มิถุนายน 2555
-  ลงมือปฏิบัติจริง  โดยสมาชิกในกลุ่มช่วยกันปฏิบัติ
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร
ธัญญา,
เบญจพร
4
21-25มิถุนายน 2555
-  เสนอตัวชิ้นงานส่งอาจารย์
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร

ธัญญา,
เบญจพร
5
26 มิถุนายน 2555

-  นำเสนออาจารย์ผู้สอนผ่านทางblogger
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร

ธัญญา,
เบญจพร






บทที่ 3
วิธีดำเนินการโครงงาน
ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพโดยใช้ต้นตะไคร้มาแปลงรูปเพื่อทำน้ำตะไคร้เพราะต้นตะไคร้มีสรรพคุณทางยารักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค เช่น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดและยังมีคุณค่าทางอาหาร เช่น  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหารอีกด้วย มีวิธีการดำเนินงานดังนี้


ส่วนผสมในการทำเครื่องดื่ม น้ำตะไคร้
  • ต้นตะไคร้ (ใช้ทั้งต้นและใบ)                        5       ต้น
  • น้ำตาลทรายแดง                                     1       ถ้วย
  • น้ำสะอาด                                             1       ถ้วย
  • เกลือป่น                                            1/4      ช้อนชา
วิธีการทำเครื่องดื่ม น้ำตะไคร้
  • เตรียมส่วนผสมข้างต้นให้ครบตามจำนวน
  • นำตะไคร้ไปล้างน้ำทำความสะอาด แล้วนำมาทุบให้แตก จากนั้นตัดต้นตะไคร้ให้เป็น ท่อนๆ ประมาณ 1 นิ้ว ส่วนใบตะไคร้ ก็ให้สับเป็นท่อนๆ หรือจะหั่นให้ละเอียดก็ได้ แล้วนำใส่หม้อ เติมน้ำสะอาด ลงไปนำขึ้นตั้งบนเตาไฟ
  • พอน้ำเดือดก็ให้ลดไฟลง แล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนรู้สึกว่าน้ำตะไคร้ ออกมาผสมกับ น้ำสะอาดมากพอแล้ว (วิธีสังเกต ให้ดูที่น้ำจะเห็นว่า น้ำจะมีสีเขียว)
  • ใส่เกลือป่นลงไป เคี่ยวอีกสักพัก จนเห็นว่าตะไคร้ได้ มีการละลายออกมา ผสมรวมกันกับน้ำ หมดแล้ว ก็ใช้ทัพพี หรือกระชอนตักเอา ต้นตะไคร้ และใบตะไคร้ออก
  • พอเอาต้นตะไคร้และใบตะไคร้ ออกหมดแล้วก็ เติมน้ำตาลทรายแดง ลงไปเคี่ยวสักพัก พอให้น้ำตาลทรายแดงละลายหมด ก็ให้ยกลงจากเตาไฟ
  • ดื่มร้อนๆ ก็อร่อยดี หรือหากใครชอบดื่มแบบเย็นๆ ก็เอาน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วก็เท น้ำตะไคร้ลงไป คนให้เข้ากัน ยกขึ้นดื่มก็อร่อยดีอีกแบบ





บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการจัดทำโครงงาน

ผลการทดลอง
โดยกลุ่มของดิฉันได้มีการทดลองในการทำน้ำตะไคร้ โดยการให้คนในครอบครัวและเพื่อนบ้านได้ทดลองชิมน้ำตะไคร้ที่เราทำขึ้นมา และได้สอบถามเกี่ยวกับรสชาติน้ำตะไคร้  ซึ่งประเมินด้วยเสียงส่วนมากจึงออกมาเป็นน้ำตะไคร้ที่มีรสชาติที่และอร่อยและยังมีสรรพคุณทางยาและอาหารอีกมาก


   

 บทที่ 5

สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ




ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.  เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง
2.  ช่วยประหยัดเงินและช่วยรักษาโรค
3. มีความสามัคคีในหมู่คณะ
        
   
     

ข้อเสนอแนะในการทดลอง
         

1.               เราอาจนำสมุนไพรชนิดอื่นที่หาได้ง่ายตามครัวเรือนของคุณ
2.               เราอาจนำตะไคร่ไปใช้ทำประโยชน์อย่างได้อีกมากมาย
3.               ตะไคร่สามารถนำไปทำอาหารบำรุงร่างกายได้อีกด้วย

7 ความคิดเห็น: